กฤษณา : ไม้หอมไฮโซ

By |2021-10-01T09:53:28+07:00February 17th, 2022|หลากไม้นานาพรรณ|

ไม้แต่ละชนิดย่อมมีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกันไป อย่างไม้สักและสะเดาเทียมจะนิยมทำเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือสร้างบ้านเรือน ไม้ยางพารานิยมนำมาแปรรูปเป็นไม้เทียมจำพวกไม้ปาร์ติเกิลหรือไม้ MDF-HDF ไม้ยูคาลิปตัสนิยมนำไปทำเป็นไม้อัดหรือไม้แท้สำหรับทำโครงสร้าง แต่สำหรับไม้ชนิดนี้คงไม่ได้เอาไปทำเฟอร์นิเจอร์อย่างแน่นอน เนื่องด้วยมีความหอมเป็นพิเศษ มีคุณสมบัติทางยาที่ดีเลิศ และยังมีราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่ง จนได้ชื่อว่า “ไม้ของพระเจ้า” (Wood of God) มันคือ “กฤษณา” ครับ กฤษณา หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า ไม้หอม เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 18-21 เมตร ลำต้นตรง เปลือกสีเทาอมขาว เรือนยอดเป็นพุ่มทรงเจดีย์หรือรูปกรวย พบมากในแถบเขตร้อนของทวีปเอเชีย ตั้งแต่แถบอินเดีย-ทิเบต ยาวไปจนถึงแหลมมลายู เกาะสุมาตรา และฟิลิปปินส์ ที่กฤษณามีราคาแพงได้นั้น เป็นเพราะเนื้อไม้ของมันนี่แหละครับ แบ่งได้ 2 แบบคือ เนื้อไม้ปกติ สีอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อหยาบปานกลาง ผ่าซอยง่าย แต่ชักเงาไม่ดีนัก จึงใช้ประโยชน์อะไรได้ไม่มากนัก แต่ถ้าเป็นเนื้อไม้สีน้ำตาลเข้มไปจนถึงดำ อันนี้แหละคือของล้ำค่าที่หาได้ยากมากจริงๆ ครับ เพราะนั่นคือไม้ที่มีน้ำมันอยู่ในเนื้อไม้ ยิ่งมีน้ำมันมาก

พะยูง : ไม้จักรพรรดิเมืองอีสาน

By |2021-09-28T16:04:09+07:00January 20th, 2022|หลากไม้นานาพรรณ|

เฟอร์นิเจอร์ไม้ที่มีทั้งมูลค่าและคุณค่าทางใจสูง และมีความแข็งแรงเป็นพิเศษนั้น ถ้าจะกล่าวถึงในบ้านเราต้องเป็น “พะยูง” ครับ พะยูง เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ ใบเป็นช่อแบบขนปลายใบเดี่ยว ดอกสีขาวขนาดเล็ก ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ในบ้านเราจะเจริญเติบโตได้ดีแถบภาพอีสาน เนื้อไม้สีแดงอมม่วง เนื้อละเอียด ลายสวย ขัดและชักเงาได้ดี ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ได้หลากหลายชนิด อีกทั้งยังเสริมบารมีของเจ้าของเฟอร์นิเจอร์ไม้ชนิดนี้ด้วย คนจีนเชื่อว่า คนไหนมีเฟอร์นิเจอร์ไม้สีแดง คนนั้นถือว่าร่ำรวยมากเลยทีเดียว เพราะนอกจากสีที่เป็นมงคลแล้ว พะยูงยังเป็นไม้สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ของจักรพรรดิในวังต้องห้ามแทบทั้งสิ้น และด้วยความที่พะยูงเป็นไม้โตช้า พะยูงจึงกลายเป็นไม้หายากที่มีมูลค่าและคุณค่าทางใจสูงมากเลยทีเดียว พะยูงจึงกลายเป็น “ไม้จักรพรรดิเมืองอีสาน” ที่หลายอยากได้มาครอบครองกันครับ

ไม้สัก: มรดกล้ำค่าแห่งเมืองเหนือ

By |2021-09-23T13:24:08+07:00December 23rd, 2021|หลากไม้นานาพรรณ|

“ไม้สัก” เป็นไม้ที่หลายๆ คนนิยมทำเฟอร์นิเจอร์มากที่สุด ด้วยคุณสมบัติที่คงทนสูง สีและลายสวย และยังมีความหมายที่เป็นมงคลอีกด้วยครับ สักเป็นต้นไม้ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลา ตั้งแต่โคนต้นไปถึงยอดเรือนสูงเกินกว่า 20 เมตร เปลือกมีสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนแกมเทา ใบมีขนาดใหญ่ ท้องใบสาก หลังใบสีเขียวแกมเทา เป็นขน โดยมากจะขึ้นอยู่ตามแถบภาคเหนือเป็นหลัก ชอบขึ้นตามภูเขาตามพื้นดินปนทรายที่ไม่มีน้ำขัง มักจะขึ้นเป็นกลุ่มๆ ไม้สักมี 5 ประเภทหลักๆ คือ สักทอง สีเหลืองทอง ลายสีน้ำตาลเข้ม ลายสวย แข็งแรงมาก เป็นที่ต้องการสูง และได้ชื่อว่า “ราชินีแห่งไม้” สักหยวก เนื้อไม้สีขาว ลายคล้ายสักทองแต่ร่องกว้างกว่า สักไข เนื้อไม้สีอ่อนเป็นมัน มีร่องที่ลึกกว่า มีไขอยู่ในเนื้อไม้ สักหิน สีออกน้ำตาลเข้ม แข็งแรงกว่าไม้สักประเภทอื่น แต่เปราะ สักขี้ควาย สีจะออกน้ำตาลเข้มไปจนถึงคล้ำ ลายจะสับสน คุณสมบัติหลักๆ คือ มีลายเป็นเส้นสีน้ำตาลเข้มแทรก เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ

ประดู่: ไม้ของทหารเรือ

By |2021-09-23T13:44:09+07:00November 18th, 2021|หลากไม้นานาพรรณ|

เนื่องในวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ เป็นวันกองทัพเรือ วันนี้เราจะมากล่าวถึงต้นประดู่กันครับ ประดู่ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงตั้งแต่ 10-30 เมตร ลำต้นเปลาตรง หุ้มด้วยเปลือกหนาแตกสะเก็ดเป็นร่อง มีน้ำยางในเนื้อไม้ ใบจะเรียงสลับกันเป็นขนนก ดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม มีกลิ่นคล้ายดอกซ่อนกลิ่น ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ประดู่ในบ้านเรามี 2 ชนิดคือ ประดู่ป่า และประดู่บ้าน ต่างกันที่ ประดู่ป่า เปลือกสีน้ำตาล ร่องลึก มีน้ำยางมาก พุ่มกลมทึบ ดอกจะไม่แตกกิ่งก้านแขนงมากเท่าประดู่บ้าน ประดู่บ้าน หรือประดู่อังสนา เปลือกสีเทา ร่องตื้น มีน้ำยางน้อยกว่า พุ่มกว้าง ดอกจะแต่งกิ่งก้านสาขาค่อนข้างมาก และใบจะไม่ร่วงง่ายเหมือนประดู่ป่า ไม้ประดู่ถือเป็นไม้คุณภาพดี มีความแข็งแรงสูงกว่าไม้สัก ลายสวย เนื้อละเอียดปานกลาง ปลวกไม่กิน ตกแต่งขัดเงาได้ดี นิยมใช้ในงานก่อสร้าง ทำเฟอร์นิเจอร์ได้หลากหลายชนิด และใช้ไม้พื้นเป็นส่วนใหญ่

ยางพารา: จากเมืองใต้สู่อีสาน

By |2021-09-23T13:09:09+07:00October 21st, 2021|หลากไม้นานาพรรณ|

ยางพารา เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 30-40 เมตร ต้นอ่อนเจริญเร็วมากทำให้เกิดช่วงปล้องยาว เมื่ออายุน้อยเปลือกสีเขียว แต่เมื่ออายุมากขึ้นสีของเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเทาไปจนถึงน้ำตาล ยางพาราแต่เดิมนั้นพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้นำมาปลูกต้นแรกในจังหวัดตรัง จากนั้นก็เริ่มได้รับความนิยมไปทั่วปักษ์ใต้ ในสมัยหลังจึงมีการปลูกในภาคตะวันออกและภาคอีสานด้วย ยางพาราเป็นไม้โตเร็วที่นิยมนำมาใช้ทำได้หลายอย่าง ทั้งนำน้ำยางมาแปรรูปเป็นแผ่นเพื่อส่งขาย และเมื่อมีอายุประมาณหนึ่ง ก็ยังสามารถนำไปใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ได้อีกอย่างหนึ่ง คุณสมบัติหลักๆ ของไม้ยางพาราคือ เป็นไม้เนื้ออ่อน เสี้ยนใหญ่ เนื้อหยาบ และมีความอ่อนตัวค่อนข้างมาก ตัดแต่งได้ง่าย แต่มีอัตราการยืดหดตัวค่อนข้างสูง ถ้าหดตัวแล้วยางจะปะทุออกมา และเนื้อไม้ยังเป็นสารอาหารของปลวกและรา การแปรรูปจึงต้องอัดน้ำยากันปลวกและอบไม้ให้แข็งแรงก่อนใช้งาน ถึงแม้ว่าไม้ยางพาราจะมีคุณสมบัติไม่เท่าไม้สักหรือไม้สะเดาเทียม แต่ลวดลายที่สวยและสีสว่างกว่า จึงได้ชื่อว่า “ไม้สักขาว” และได้รับความนิยมไม่แพ้กัน และเนื่องจากมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในภาคอีสานในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยางพาราจึงเป็นไม้เมืองใต้ที่นำไปไปให้ชาวภาคอีสานได้สร้างรายได้อย่างทั่วถึง

จวง : เทพธาโรแห่งอันดามัน

By |2021-09-08T11:30:09+07:00September 23rd, 2021|หลากไม้นานาพรรณ|

ในช่วงเทศกาลถือศีลกินผัก หรือที่เรียกกันว่า “กินเจ” มักจะนำไม้ชนิดหนึ่งมาเผาในหม้อดินเพื่อให้เกิดควันแล้วนำไปตั้งไว้ตามจุดต่างๆ ทั่วบริเวณศาลเจ้า ด้วยความเชื่อที่ว่าจะทำให้ศาลเจ้าสะอาด ไม้ที่ว่านั่นก็คือ... “ไม้จวง” ครับ จวง หรือ เทพธาโร เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูงประมาณ 15-20 เมตร เปลือกไม้แตกเป็นร่องชัดเจน สีน้ำตาลเข้ม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรีแกมไข่ ใบค่อนข้างหนา เรียงสลับแผ่น ดอกเป็นช่อขนาดเล็กออกตามปลายกิ่ง สีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม พบได้ในป่าดงดิบทั่วประเทศ แต่ทางปักษ์ใต้จะพบมากที่สุด โดยเฉพาะฝั่งอันดามัน ไม้จวงเป็นไม้ที่มีการใช้มานานในการทำเป็นเครื่องหอมบูชาเทพเจ้า จนถึงปัจจุบันไม้จวงก็ยังใช้เป็นเครื่องบูชาในศาลเจ้าจีนอยู่  นอกจากนั้นด้วยความหอมและเนื้อไม้ที่ละเอียด สีเหลืองอ่อนไปทางขาว จึงนิยมนำมาแกะสลักเป็นเทพเจ้าต่างๆ นอกจากนี้ ไม้จวงยังนำมาใช้เป็นยาได้หลายชนิด และสามารถนำใบมาทำเครื่องแกงสะละหมั่น (หรือมัสมั่น) แทนใบกระวานได้อีกด้วย ด้วยความที่ไม้จวงเป็นไม้ที่หอมและได้รับนิยมโดยเฉพาะด้านพิธีกรรมของคนไทยเชื้อสายจีนอย่างกว้างขวาง ไม้จวงจึงกลายเป็นไม้ที่มีคุณค่าแห่งหนึ่งของฝั่งอันดามัน และได้ชื่อว่า “เทพธาโรแห่งอันดามัน” ไปในที่สุด

ไม้สะเดาเทียม

By |2021-09-03T09:41:56+07:00September 3rd, 2021|หลากไม้นานาพรรณ|

ไม้สะเดาเทียม ถ้าจะกล่าวถึงไม้สารพัดประโยชน์ที่กำลังมาแรงในท้องถิ่นอย่างปักษ์ใต้บ้านเราแล้ว ก็คงหนีไม่พ้นไม้สะเดาเทียมแน่นอนครับ เพราะด้วยคุณสมบัติที่ไม่แพ้กันกับไม้สักที่มีราคาสูง ประกอบกับความสวยงามของไม้สะเดาเทียม ระยะเวลาในการปลูกที่สั้น และหาง่ายได้กว่าไม้สัก จึงทำให้ความนิยมในตัวไม้สะเดาเทียมสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ลักษณะของสะเดาเทียม (Sentang) - เป็นไม้โตเร็ว มีลักษณะสูงใหญ่ เปลาขึ้นตรง - เปลือกสีเทาอมน้ำตาลหรือขาว ผิวเรียบ เปลือกข้างในสีขาว - มักมีรอยตาของกิ่งที่หลุดร่วงไปแล้ว - เนื้อไม้สีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน - ใบจะขึ้นเป็นกระจุกรวมที่บริเวณปลายกิ่ง เรียงเยื้องสลับกันเป็นคู่ - ใบหนาและขอบหยักเหมือนเลื่อยฟัน ผิวใบสีเขียวเป็นมัน - ดอกจะออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกสีขาวอมเขียวอ่อนมีกลิ่นหอม มักจะขึ้นในช่วงต้นเดือนมีนาคม ความนิยมของต้นสะเดาเทียม - ในทางภาคใต้นิยมปลูกเพื่อคั่นเขตแดนระหว่างสวนยางพาราหรือสวนผลไม้ - เมื่อได้อายุที่เหมาะสมในการทำเฟอร์นิเจอร์ไม้คือ 30 ปี จะมีความสูงและขนาดที่เหมาะสมในการตัดโค่นเพื่อสร้างบ้านในพื้นที่ของตนเอง ส่วนที่เหลือก็จะนำไปขายหรือทำเฟอร์นิเจอร์ไม้เพื่อสร้างรายได้ในครัวเรือน การใช้ประโยชน์จากต้นสะเดาเทียม - สะเดาเทียมเป็นไม้ที่แมลงศัตรูอย่าง ปลวก มอด มด ไม่เข้ามาเจาะกิน ลายและสีสวยไม่แพ้กันกับไม้สักทอง จึงนิยมนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ - ยอดของสะเดาเทียม ชาวบ้านนิยมนำไปบริโภคด้วยการทำน้ำพริก

Go to Top